Security and Recovery

รหัสหลักสูตร : AHT-Security and Recovery

ระยะเวลา : 1 วัน ราคา : 4,500 บาท ต่อคน

วัตถุประสงค์ : สามารถจัดการ Security และ Back up/Recovery ฐานข้อมูล SQL Server ได้

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ : 
บุคคลทั่วไปที่สนใจจะ นำเอาหลักการ  Security และ Back up/Recovery ฐานข้อมูล SQL Server ไปใช้งานในองค์กร

สื่อต่างๆ ที่ใช้ในการอบรม : เอกสารสำหรับการอบรม

สิ่งที่ได้รับหลังจากการอบรม : สามารถจัดการ Security และ Back up/Recovery ฐานข้อมูล SQL Server ได้

Course Outline 

การจัดการ Security ประกอบด้วย

  • การจัดการ Security ระดับ Server
  • การจัดการ Security ระดับ Database
  • การจัดการ Security ระดับ Object (Table, Store Procedure, Views and Function)
  • การจัดการ Security ระดับ Schema
  • การจัดการ Security ระดับ Column

การจัดการ Back Up และ Recovery SQL Server ประกอบด้วย

  • การ Back up (Full, Differential, Log)
  • การ Recovery (Full, Differential, Log)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Backup ฐานข้อมูล

                เมื่อเราเปิดฐานข้อมูลให้กับยุศเซอร์เข้ามาใช้ทำงานในฐานข้อมูล ยูสเซอร์ย่อมที่จะต้องการ้งานฐานข้อมูลได้ตลอดเวลา หากข้อมูลในฐานข้อมูลเกิดสูญหายไปโดยที่ไม่สามารถเรยกกลับคืนมา หรือฐานข้อมูลเกิดการเสียหายจนทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งานได้อีกต่อไปนั้น ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกับการทำงานเป็นอย่างมาก รวมถึงในกรณีที่ยุศเซอร์ทำงานผิดพลาดและทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลในฐานข้อมูล เช่น ลบ ข้อมูลผิดไป เป็นต้น

                ดังนั้น การ Backup ฐานข้อมูลเป้นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งที่ DBA จำแป้นต้องนึกถึงและกำหนดนโยบายในการ Backup ฐานข้อมูลที่ดีเพียงพอ เพื่อป้องกันการทำงานที่ผิดพลาดของยูสเซอร์และป้องกันการเสียหายที่อจจะเกิดขึ้นอยู่กับไฟล์ของฐานข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลในฐานข้อมูลมีความถูกต้องและทำให้ยูสเซอร์สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

ทำไมต้องมีการ Backup ฐานข้อมูล

                ข้อมูลในฐานข้อมูลย่อมมีความสำคัญกับทุกองค์กรที่มีการใช้งานระบบฐานข้อมูล หน้าที่สำคัญของ DBA อีกอย่างหนึ่งคือ ต้องป้องกันข้อมูลจากความผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลได้ เพื่อให้ฐานข้อมูลนั้นสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากหากฐานข้อมูลไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานหรือข้อมูลเกิดการสูญหาย ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหายเป็นอย่างมากต่อองค์กร

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในฐานข้อมูล          

                ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับฐานข้อมูลและก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมุลในฐานข้อมูลนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งสรุปแกมาได้ดังนี้

  • ความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของยูสเซอร์ เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของยูสเซอร์เองและก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลในฐานข้อมูล เช่น ยูสเซอร์เผลอลบข้อมูลในตารางโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือกำหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผิดพลาด เป็นต้น ซึ่ง DBA ไม่สามารถจะป้องกันความผิดพลาดประเภทนี้ได้
  • ความผิดพลาดในการทำงานของ Process ต่าง ๆ ของฐานข้อมูล ความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นกับ Process ต่าง ๆ ทุก Process ในฐานข้อมูล ได้แก่ User process , Server Process และ Background Process หากการทำงานที่ผิดพลาดเกิดขึ้นจาก User Process หรือ Server Process นั้นจะไม่มีผลกระทบใด ๆ กับฐานข้อมูล แต่ถ้าเป็นการำทงานที่ผิดพลาดของ Background Process จะทำให้ฐานข้อมูลไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ฐานข้อมูลจะหยุดการทำงานไปโดยอัตโนมัติ DBA ต้องมา Restart ฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถใช้งานได้อีกครั้ง
  • ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากระบบเครือข่าย ความผิดพลาดนี้จะส่งผลให้ยูสเซอร์ที่ติดต่อฐานข้อมูลมาจากเครื่องไคลเอนท์จะไม่สามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้ เช่นเดียวกันหากในฐานข้อมูลมีการใช้งาน Database Link อยู่ เมื่อเกิดความผิดพลาดของระบบเครือข่ายขึ้น ย่อมไม่สามารถที่จะติดต่อไปยังฐานข้อมูลอีกฝั่งหนึ่งได้
  • ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากดิสก์ที่เก็บข้อมูล ความผิดพลาดนี้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับไฟล์ต่าง ๆ ของฐานข้อมูลได้ ซึ่งไฟล์ในฐานข้อมูลที่กล่าวถึงนี้ ได้แก่ Control File , Redo Log File และ Data File เป็นต้น เมื่อไฟล์เหล่านี้เกิดการเสียหายเนื่องมาจากดิสก์ที่เก็บข้อมูลเกิดข้อผิดพลาดขึ้นย่อมทำให้การทำงานของ Oracle Instance มีปัญหาและอาจจะหยุดการทำงานไปได้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นเป็นเวลานาน

จากข้อผิดพลาดข้างต้นเราสามารถสรุปความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลได้ 2 แบบ คือ ความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของยูสเซอร์ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากฐานข้อมูลเองไม่ว่าจะเป็น Instance Failure หรือ Media Failure

ความผิดพลาที่เกิดจากการทำงานของยูสเซอร์ เป็นสิ่งที่ป้อกงันได้ยาก แต่เราสามารถให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ยูสเซอร์ รวมทั้งการกำหนดสิทธิในการใช้งานฐานข้อมูลของยูสเซอร์ให้เท่าที่ยูสเซอร์นั้นต้องการใช้ เช่น กำหนดสิทธิให้ยูสเซอร์สามารถลบออบเจ็กต์ได้เฉพาะออบเจ็กต์ของตัวเองเท่านั้น เป็นต้น

                ในการที่จะกู้ข้อมูลที่ผิดพลาดนั้นกลับคืนมาให้แก่ยูสเซอร์สามารถทำได้ถ้าเราได้ Backup ข้อมูลของยูสเซอร์ไว้ เช่น ใช้งาน Export เพื่อ Backup ข้อมูลของยูสเซอร์ หรือใช้ฟังก์ชันการทำงานของ Oracle ที่เรียกว่า Flashback มาช่วยในการกู้ข้อมูลที่ผิดพลาดนั้นกลับคืนมาได้

                ความผิดพลาดที่เกิดจากฐานข้อมูลในส่วนของ Media Failure หรือไฟล์ที่ประกอบเป้นฐานข้อมูลมีปัญหา วิธีแก้ไขความผิดพลานี้เราจะต้อง Backup ไฟล์ต่าง ๆ ของฐานข้อมูลเก็บไว้พร้อมกับ Archive File เพื่อใช้ในการ Recover ฐานข้อมูล ถึงแม้ว่าความผิดพลาดประเภทนี้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยแต่เราจำเป็นที่ต้อง Backup ไฟล์ของฐานข้อมูลเก็บไว้เสมอ